Network Infrastructure | ระบบเครือข่ายพื้นฐาน

เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของระบบ IT ขององค์กร เปรียบเสมือนเป็นถนน หรือทางด่วนที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับให้รถชนิดต่าง ๆ มาวิ่ง โดยรถชนิดต่าง ๆ ก็เปรียบเสมือนเป็น Data ของ Application ต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในองค์กรนั่นเอง ถ้าหากโครงสร้างพื้นฐานถูกออกแบบไว้ไม่ดีตั้งแต่แรก ก็อาจจะเกิดปัญหาการจราจรของข้อมูลติดขัดขึ้น หรืออาจจะมีข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ทำให้การขยายโครงสร้างพื้นฐานขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นในการออกแบบ Network Infrastructure ที่ดีนั้น มีปัจจัยที่ต้องคำนึงหลายประการ และมักจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าโครงสร้างพื้นฐานนี้จะสามารถรองรับการทำงานขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพในปัจจุบัน และรองรับการขยายตัวขององค์กรในอนาคต


System Infrastructure | องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน

ฮอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย

บุคลากร (People ware) หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ

ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) ข้อมูล (Data) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง การทำงานของคอมพิวเตอร์จะเกี่ยวข้องกับข้อมูลตั้งแต่การนำข้อมูลเข้าจนกลายเป็นข้อมูลที่สามารถใช้ประโยชน์ต่อได้หรือที่เรียกว่า สารสนเทศ (Information) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจจะเป็นได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษร และข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ เช่น ภาพ เสียง เป็นต้น


IT Infrastructure Management | งานบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจล้วนต้องมีระบบงานไอที (เทคโนโลยีสารสนเทศ) เป็นส่วนประกอบและเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนหลักทั้งสิ้น เช่น ระบบโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ ระบบบริหารงานธุรกิจ ระบบบริหารงานบุคคล ทั้งหมดล้วนต้องใช้บุคลากรทางด้านไอทีที่ต้องมีความเข้าใจ ต้องใช้งบลงทุนในการดำเนินงาน ทั้งหมดล้วนเป็นปัญหาและเป็นข้อจำกัดในการตัดสินใจของผู้ประกอบการทั้งสิ้น ฉะนั้นในการดำเนินงานบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงต้องทำด้วยความเข้าใจ ต้องมีแผนงานและกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจน มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาองค์กรและงบประมาณในการลงทุนได้อย่างเหมาะสม โดยมีหลักการ ข้อปฏิบัติ สิ่งที่ต้องรู้ และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในเบื้องต้น ดังนี้

เข้าใจปัจจุบัน 
เข้าใจธุรกิจและองค์กร ในการที่จะบริหารระบบไอทีให้ประสบความสำเร็จนั้น หลักการที่สำคัญที่สุดคือต้องเข้าใจว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ ต้องมีความเข้าใจในสินค้าและบริการของตัวเอง เข้าใจความต้องการของตลาด เข้าใจการแข่งขัน และต้องมีความเข้าใจโครงสร้างองค์กรของตัวเองเป็นอย่างดี
เข้าใจสิ่งที่มี ต้องมีความเข้าใจในขีดความสามารถของอุปกรณ์ ระบบงานต่างๆ หรือแม้แต่บุคคลากร ว่ามีศักยภาพ มีความพร้อม สามารถรองรับระบบการทำงานขององค์ได้หรือไม่
เข้าใจปัญหา เมื่อระบบมีปัญหาการหาทางแก้ไขในเบื้องต้นเป็นสิ่งที่ต้องเร่งทำและรีบจัดการ การหาสาเหตุของปัญหาเพื่อหาทางป้องกันก็เป็นอีกสิ่งที่ควรทำควบคู่กัน
เข้าใจความต้องการและความจำเป็น แผนพัฒนาระบบงานไอทีนั้นต้องอิงกับแผนพัฒนาองค์กรในภาพใหญ่ เพราะในการร่างแผนงานพัฒนาระบบงานไอทีนั้นต้องประกอบด้วย ความต้องการหรือเป้าหมายที่ชัดเจน แผนงานและขั้นตอนในการดำเนินงานว่าต้องทำอะไรก่อนหรือหลังตามความจำเป็น มีแผนงานด้านงบประมาณและบุคคลากรที่ต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาองค์กรได้อย่างเหมาะสม

เรียนรู้จากอดีต 
 เรียนรู้จากความผิดพลาด การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของระบบนั้น จะต้องทำการแก้ไขความผิดพลาดในอดีตด้วยการกำหนดแผนดำเนินงานตามความจำเป็นของระบบ
 เพราะโดยมากการออกแบบและติดตั้งระบบที่ผิดพลาดในอดีตนั้นมักส่งผลเสียถึงปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรณีที่ปัญหานั้นส่งผลกระทบมากก็ต้องรีบจัดการในทันที
เรียนรู้จากความสำเร็จ ความสำเร็จของงานบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของระบบ หรือระบบงานที่เกี่ยวของกับงานไอทีในอดีตนั้น ล้วนต้องมีปัจจัยส่งผลและบุคคลากรที่ดีเป็นส่วนประะกอบทั้งสิ้น ดังนั้นการศึกษาและเก็บข้อมูลต่างๆทั้งด้านของความผิดพลาดหรือความสำเร็จนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อนำไปปรับใช้ในการจัดวางแผนดำเนินงานและพัฒนาระบบต่อไป

มองอนาคตให้เป็น
 มองอนาคตธุรกิจและองค์กร งานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
นั้น เป็นงานที่ต้องทำควบคู่กับทุกภาคส่วน ทุกแผนกในองค์กร เพื่อใช้ระบบงานในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานและช่วยยกระดับกระบวนการทำงานของบุคคลากรในองค์กร
มองอนาคตเทคโนโลยี อุปกรณ์และระบบงานด้านไอทีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก ดังนั้นการจัดแผนงานและกำหนดการณ์ติดตั้งระบบนั้นต้องมีการคิด วิเคราะห์ และคาดการณ์ล่วงหน้าถึงการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีอย่างรอบคอบ เพื่อให้องค์กรเติบโต ก้าวทันเทคโนโลยี และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิตอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Monitoring | ติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวัง แจ้งเตือน และประเมินผล

ติดตาม ติดตามผลการดำเนินงานให้ตรงตามแผนงานที่วางไว้

ตรวจสอบ ทำการตรวจสอบระบบให้มีความพร้อมเพื่อใช้งานอย่างสม่ำเสมอ 

เฝ้าระวัง ต้องเฝ้าระวังและเฝ้าสังเกตุ หาความผิดปกติในการทำงานของระบบ 

แจ้งเตือน ออกแบบระบบการแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับระบบ เพื่อให้ทำการแก้ไขได้อย่างทันท่วงที

ประเมินผล ทำการประเมินผลการทำงานองระบบ จัดทำแผนงานเพื่อปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาระบบอย่างเหมาะสม


ตัวอย่างผลงาน 
อาคารสำนักงาน PROMEDIC NEW HEAD OFFICE
อาคารโรงแรม Onyx Bangkok Hotel
สำนักงานโกดังเก็บสินค้า SSK Logistics co., ltd.
สำนักงานระบบแพ็กกิ้ง SSK Logistics co., ltd.


สินค้าและบริการ
บริการออกแบบพร้อมรับเหมาก่อสร้าง
ติดตั้งระบบไฟฟ้า ประปา แอร์ สื่อสาร 
งานไอทีและระบบรักษาความปลอดภัย
--------------------------------------------------
บริษัท สบายดี คอร์ปอเรชั่น จำกัด 
บริการออกแบบพร้อมรับเหมาก่อสร้าง ติดตั้งระบบประกอบอาคาร และระบบรักษาความปลอดภัยทุกประเภท
โทร. 095 353 8290 | This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. | www.sabaidee.co.th
--------------------------------------------------

New template fix and designed by Arthit Anan